มะขามหวาน

 

มะขามหวาน
ชื่ออื่นๆ : ขาม  หมากขาม  ส้มมะขามหวาน
ชื่อสามัญ : Sweet tamarind
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarind indica L.
วงศ์ : Leguminosae (Caesalpiniaceae)
ถิ่นกำเนิด : เอเชียใต้ และอัฟริกาตะวันออก
ลักษณะทั่วไป : ไม้ยืนต้น สูงประมาณ 10 – 25 ม. ลำต้นสีเทาดำ เปลือกต้นแตกเป็นร่องตามยาว แตกกิ่งก้านสาขาจำนวนมาก กิ่งมีความเหนียวของเนื้อไม้มาก ทรงพุ่มค่อนข้างกลม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกชั้นเดียว มีใบย่อย 24 – 32 คู่ ใบย่อยขนาดประมาณ 0.5×2.0 ซม. ดอกสีเหลืองมีลายเส้นสีแดงเป็นเส้นยาวตามกลีบ ออกดอกเป็นช่อที่กิ่งหรือปลายยอด ดอกสมบูรณ์เพศ เกสรตัวผู้ 3 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน ผลเป็นฝักยาวค่อนข้างกลมมีหลายเมล็ด เมล็ดสีน้ำตาลแดงรูปสี่เหลี่ยม
พันธุ์ :
พันธุ์หมื่นจง
ชื่ออื่นๆ : มะขามหวานบ้านนายสิม  พันธุ์นายสิม
แหล่งกำเนิด : ต. ในเมือง อ. หล่มเก่า จ. เพชรบูรณ์
ลักษณะประจำพันธุ์  
เปลือกต้น : สีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ลายแตกของเปลือกต้นหยาบ
ใบ : ใบใหญ่ สีเขียวสด ใบในทรงต้นไม่มาก ไม่หนาทึบ
ผล : เป็นฝักขนาดกลาง ประมาณ 30 – 35 ฝักต่อกิโลกรัม ฝักโค้งเป็นรูปวงฆ้อง บางฝักหัวและท้ายเกือบจรดกัน
เนื้อผล : เนื้อหนา รสหวานและหวานสนิท มีเปอร์เซ็นต์น้ำตาลประมาณ 45.2%
เมล็ด : เล็ก
พันธุ์สีทอง
ชื่ออื่นๆ : มะขามหวานนายหยัด  พันธุ์นายหยัด  พันธุ์เพชรน้ำผึ้ง
แหล่งกำเนิด : อ. หล่มเก่า จ. เพชรบูรณ์
ลักษณะประจำพันธุ์ 
เปลือกต้น : สีค่อนข้างขาวนวล ลายแตกของเปลือกละเอียด
ใบ : ใบใหญ่ สีเขียวสด ใบในทรงต้นไม่แน่นอน
ผล : เป็นฝักขนาดใหญ่ (ใหญ่ที่สุดของกลุ่มฝักโค้ง) ประมาณ 25 – 30 ฝักต่อกิโลกรัม ฝักโค้งใหญ่ยาว เปลือกสีขาวนวล
เนื้อผล : เนื้อหนาสีทอง รสหวานจัด มีเปอร์เซ็นต์น้ำตาลมากกว่า 50%
เมล็ด : เล็ก
พันธุ์ศรีชมภู
ชื่ออื่นๆ : พันธุ์น้ำร้อน
แหล่งกำเนิด : อ. เวียงจันทน์ ประเทศลาว นำมาปลูกที่ ต. น้ำร้อน อ. เมือง จ. เพชรบูรณ์
ลักษณะประจำพันธุ์ 
เปลือกต้น : สีน้ำตาลเข้ม ลายแตกของเปลือกต้นหยาบ
ใบ : ใบใหญ่ สีเขียวแก่ ทรงพุ่มเป็นทรงกระบอกแน่นทึบ ยอดอ่อนสีแดงเข้ม หรือแดงปนเหลือง
ผล : เป็นฝักขนาดใหญ่ ยาวค่อนข้างตรงและกลม เปลือกบางสีน้ำตาลอ่อนปนเทา
เนื้อผล : เนื้อหนาสีน้ำตาลอมเหลือง รสหวานสนิทจนถึงหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย
เมล็ด : เล็ก
พันธุ์ขันตี
ชื่ออื่นๆ :
แหล่งกำเนิด : ต. ท่าพล อ. เมือง จ. เพชรบูรณ์
ลักษณะประจำพันธุ์ 
เปลือกต้น : สีเทาค่อนข้างขาว ลายแตกของเปลือกต้นละเอียด
ใบ : ใบเล็กหนา สีเขียวเข้ม
ผล : เป็นฝักขนาดใหญ่สั้นค่อนข้างตรงและกลมคอดเป็นข้อๆ เห็นได้ชัด เปลือกบางสีน้ำตาลอ่อนปนเทา
เนื้อผล : เนื้อหนาสีน้ำตาลอมเหลือง รสหวานสนิท
เมล็ด : เล็ก
การปลูก :
การปลูกมะขามหวานเพื่อเป็นการค้า ควรคำนึงถึงชนิดของพันธุ์ที่จะปลูก เช่น
1. พันธุ์ที่ปลูกเป็นพันธุ์หนักหรือเบา คือช่วงเวลาในการติดดอกและระยะเวลาในการแก่เต็มที่ของผล ซึ่งควรปลูกทั้ง 2 ชนิด แต่คนละแปลงกัน
2. ชนิดของผลผลิต เช่น ตลาดต้องการมะขามหวานฝักโค้งหรือฝักตรง หากต้องการฝักตรงก็ควรปลูกพันธุ์ศรีชมพูให้มาก หากต้องการสีผิวฝักสวยก็ควรปลูกพันธุ์สีทองให้มากกว่าพันธุ์อื่นๆ
มะขามหวานมักนิยมปลูกจากต้นกล้าที่ได้จากการทาบกิ่ง โคนกิ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. ความสูงประมาณ 1.0 – 1.5 ม. มีกิ่งแขนง 2 – 3 กิ่ง เป็นทรงพุ่มสวย ไม่บิดเบี้ยวคดงอโค้งหาพื้นดิน ใบใหญ่สมบูรณ์ เขียวเข้ม ต้นแข็งแรงเปลือกต้นไม่ซูบซีดแคระแกรน หรือเป็นแผล มะขามจะให้ผลผลิตหลังจากปลูกไปแล้ว 3 – 4 ปี
ระยะห่างของหลุมปลูกในระยะระหว่างต้นและระหว่างแถว ควรเป็น 10×10 ม.
การดูแลรักษา :
การให้ปุ๋ย  ควรทำให้ดินมีความร่วนซุยและอุดมสมบูรณ์อยู่เสมอ โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ต่างๆ เช่น มูลสัตว์ ปุ๋ยพืชสดไถกลบหรือคลุมดิน
การให้น้ำ  มะขามหวานต้องมีการขาดน้ำในช่วงที่ผลหรือฝักไกล้แก่ คือเมล็ดเริ่มเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาล ฝักแก่เก็บเกี่ยว ตัดแต่งกิ่ง ทิ้งใบ จนถึงแตกยอดอ่อน เมื่อแตกยอดอ่อนได้ประมาณ 1 อาทิตย์ หรือแตกเกือบทั้งต้น จึงเริ่มให้น้ำอย่างสม่ำเสมอจนถึงออกดอก ติดฝัก เมล็ดเริ่มเปลี่ยนสีจึงหยุดให้น้ำอีก เป็นดังนี้เรื่อยไป
โรค แมลง และ :
การป้องกันกำจัด
ควรหมั่นดูแลพื้นที่ให้สะอาดไม่เป็นที่หมักหมมอับชื้น และตัดแต่งกิ่งพืชให้โปร่งมีแสงแดดส่องลงสู่พื้นดินได้อย่างทั่วถึง ลมสามารถโชยพัดผ่านได้สะดวก
หมายเหตุ :
มะขามหวานจะให้ผลผลิตหลังจากปลูกไปแล้ว 3 – 4 ปี
เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ยาวนานไม่น้อยกว่า 30 ปี
ผลผลิตเก็บเกี่ยวได้ในช่วงเดือน ธันวาคม – กุมภาพันธ์
ระยะเวลาติดดอกจนถึงดอกบานประมาณ 20 วัน
ระยะเวลาหลังดอกบานจนถึงฝักแก่ประมาณ 8 เดือน
ต้นอายุประมาณ 10 ปีจะให้ผลผลิตประมาณ 100 กิโลกรัมต่อต้น
ผล 30 – 45 ฝัก จะมีน้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม
เอกสารอ้างอิง :
1. http://www.doae.go.th/plant/makham.htm
2. ศูนย์ผลิตตำราเกษตรเพื่อชนบท.  มะขามหวาน.  กองบรรณาธิการเฉพาะกิจ
ฐานเกษตรกรรม
3. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้.  ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2544.  ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้ พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม).  พิมพ์ที่ บริษัทประชาชน จำกัด. 2544
รวบรวมโดย : รัตนะ สุวรรณเลิศ  หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม

การปลูกมะขาม

การปลูกมะขาม

การปลูก
กำหนดหลุมปลูกในแปลงก่อน โดยใช้ระยะปลูก 8 x 8 เมตร (ระยะห่างระหว่างแถว 8 เมตร ระยะห่างระหว่างต้น 8 เมตร) ซึ่งจะปลูกได้ 25 ต้นต่อไร่
ควรมีการเตรียมหลุมปลูกขนาดกว้าง x ยาว x ลึก 60 x 60 x 60 เซนติเมตร ดินที่ขุดจากหลุมปลูกให้แยกเป็นสองกอง คือ ดินชั้นบนและดินชั้นล่าง ตากดินที่ขุดขึ้นมาทิ้งไว้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ แล้วผสมดินทั้งสองกองด้วยปุ๋ยคอก ประมาณ 1-2 บุ้งกี๋ต่อหลุม จากนั้นจึงกลบดินลงไปในหลุมตามเดิม โดยเอาดินชั้นบนลงไว้ก้นหลุมก่อนแล้วจึงกลบทับด้วยดินชั้นล่าง
สำหรับฤดูปลูกควรจะปลูกต้นฤดูฝน เพราะเมื่อปลูกเสร็จแล้วต้นมะขามที่ยังเล็กอยู่จะได้รับน้ำฝน สามารถตั้งตัวได้ดีก่อนจะเขาถึงฤดูแล้ง ต้นมะขามที่ปลูกใหม่ควรจะผูกยึดกับหลัก เพื่อให้ต้นมะขามขึ้นตรงไม่โค่นล้มเนื่องจากลมแรงก่อนจะปลูก หากปลูกด้วยกิ่งทาบจำเป็นต้องแกะเอาเชือกฟางหรือผ้าพลาสติกตรงรอยต่อออกเพราะถ้าไม่ได้แกะออก จะทำให้ต้นมะขามแคระแกร็นหรืออาจจะตายได้

ในช่วงแรกของการปลูก เนื่องจากการปลูกมะขามหวาน ใช้ระยะห่าง 8 x 8 เมตร ขณะที่มะขามหวานยังเล็กอยู่ อาจจะปลูกพืชแซมระหว่างแถวได้ เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง สับปะรด หรือพริก อันจะเป็นการเพิ่มรายได้ต่อเนื้อที่ให้มากขึ้น

การให้น้ำ

ในระยะปลูกใหม่ หากฝนไม่ตก จำเป็นต้องรดน้ำทุก ๆ วัน ประมาณ 1 สัปดาห์ จนกว่าจะตั้งตัวได้ จากนั้นจึงเว้นช่วงเวลาการรดน้ำให้ห่างกว่าเดิม อาจจะเป็น 3 หรือ 7 วันครั้ง สำหรับมะขามหวาน เมื่อต้นโตให้ผลผลิตแล้ว ควรจะให้น้ำเดือนละครั้งจะช่วยให้ต้นแข็งแรงสมบูรณ์

การใส่ปุ๋ย

สำหรับมะขามหวานต้นเล็กยังไม่ออกผล อายุ 1-3 ปี ควรให้ปุ๋ยสูตร 12-24-12 อัตรา 450 กรัมต่อต้น (ประมาณ 1 กระป๋องนม) ในปีแรกแบ่งใส่ 3 ครั้ง (4 เดือนต่อครั้ง) จำนวน 100, 150, 200 กรัม ตามลำดับ สำหรับปีต่อ ๆ ไป ให้เพิ่มปุ๋ยมากขึ้นตามจำนวนอายุที่มากขึ้น เมื่อมะขามตกผลแล้วควรใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-17 หรือ 13-13-21 โดยแบ่งใส่ 2 ครั้ง คือช่วงต้นฝน และปลายฝน ซึ่งจะช่วยให้มีการติดผลมากขึ้น และเพิ่มความหวานด้วย อัตราที่ใส่คำนวณจากสูตรดังนี้

จำนวนปุ๋ยที่ใส่ (กก.) = อายุต้นมะขาม /2

เช่น ถ้าต้นมะขามอายุ 2 ปี จะต้องใส่ปุ๋ยสูตร 12-12-17 หรือ 13-13-21 จำนวน จำนวน = 2/2 = 1 กิโลกรัม โดยแบ่งใส่ต้นฝน .5 กิโลกรัม และปลายฝนอีก .5 กิโลกรัม

สรรพคุณมะขาม

สรรพคุณน่ารู้ : หมวดผลไม้ : มะขาม กลับไปเลือกสรรพคุณ ส่วนที่ใช้ ใบอ่อน ผล เมล็ด สรรพคุณ ถ่ายพยาธิ : เอาเมล็ดแก่มาคั่วแล้วกระเทาะเปลือก เอาเนื้อในเมล็ดไปแช้น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ 20-30 เมล็ด ลดความดัน : นำดอกสด ไม่จำกัด ใช้แกงส้ม หรือต้มกับปลาสลิดรับประทาน ท้องผูก : ใช้เนื้อมะขามเปรี้ยวในฝักที่แก่จัด 10 – 20 ฝัก ( 70 – 80 กรัม) จิ้มเกลือรับประทาน หรือ ดื่มน้ำตามมากๆ หรือ คั้นน้ำใส่เกลือเล็กน้อยดื่มเป็นน้ำมะขาม แก้หวัด : ต้มน้ำให้เดือดพลั่ก ทุบหัวหอมสัก 7 – 8 หัว ใบมะขามอ่อนและแก่ ลงไป พอควันขึ้นก็เอาผ้าขนหนูผืนใหญ่คลุมทั้งหัวและหม้อหัวหอม ใบมะขาม สูดเข้าสูดออกสัก 5 นาที ระวังอย่าสูดไอร้อนๆอย่างเดียวตลอด พอร้อนทนไม่ไหวก็เอาผ้าคลุมออก เอาผ้าคลุมสูดใหม่ จนพอใจ เติมน้ำเย็นลงไปในหม้อกลายเป็นน้ำอุ่นๆ เอาหัวหอมกับใบมะขามโกรกหัวหลายๆ ครั้ง ท้องเดิน : รากมะขาม 1 กำมือต้มกับน้ำพอประมาณ จนเดือดแล้วดื่ม 1 ถ้วยกาแฟ ก็จะบรรเทาอาการ เริมและงูสลัด : เอาเปลือกมาฝนฝาละมีหม้อดินกับน้ำทาแผล ไอ และมีเสมหะ : ใช้เนื้อในฝักแก่ หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประท่นพอสมควร วิธีใช้ในการประกอบอาหาร มะขามนับว่ามีความสำคัญในอาหารไทยมาเนิ่นนาน โดยนิยมนำมาปรุงอาหารเพื่อให้มีรสเปรี้ยว ไม่ว่าจะแกง ต้ม หลน ยำ น้ำพริก โดยใช้ใบอ่อนและดอกมาใส่อาหารประเภทต้มโคล้ง ต้มกระทิ ฝักใช้ทำพวกน้ำพริกมะขาม ต้มยำ ข้อควรระวัง รับประทานมากไปอาจทำให้ท้องเสียได้

มะขาม

มะขาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความหมายอื่น ดูที่ อำเภอมะขาม

มะขาม
มะขาม
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
Kingdom: Plantae
Division: Magnoliophyta
Class: Liliopsida
Order: Fabales
Family: Fabaceae
Genus: Tamarindus
Species: T. indica
ชื่อวิทยาศาสตร์
Tamarindus indica

มะขาม เป็นไม้เขตร้อน มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาแถบประเทศซูดาน ต่อมามีการนำเข้ามาในประเทศแถบเขตร้อนของเอเชีย และประเทศแถบละตินอเมริกา และในปัจจุบันมีมากในเม็กซิโก

ชื่อมะขามในภาคต่างๆ เรียก มะขามไทย (ภาคกลาง) ขาม (ภาคใต้) ตะลูบ (โคราช) ม่วงโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) อำเปียล เขมร จังหวัดสุรินทร์ ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า tamarind หรือ Indian date ซึ่งแปลมาจากภาษาอาหรับ:تمر هندي (tamr hindī)

มะขามเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีคำขวัญประจำจังหวัดว่า “เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง”

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้]ลักษณะเฉพาะ

มะขามเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามากไม่มีหนาม เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน ประกอบ ด้วยใบย่อย 10–15 คู่ แต่ละใบย่อยมีขนาดเล็ก กว้าง 2–5 มม. ยาว 1–2 ซม. ออกรวมกันเป็นช่อยาว 2–16 ซม. ดอก ออกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดง/ม่วงแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และ/หรือหวาน ซึ่งฝักหนึ่ง ๆ จะมี/หุ้มเมล็ด 3–12 เมล็ด เมล็ดแก่จะแบนเป็นมัน และมีสีน้ำตาล

ใบของมะขามเป็นใบประกอบแบบขนนก (pinnately compound leaves) ใบย่อยแต่ละใบแยกออกจากก้าน 2 ข้างของแกนกลาง คล้ายขนนก ถ้าปลายสุดของใบจะเป็นใบย่อยเพียงใบเดียวเรียก แบบขนนกคี่ (odd pinnate) เช่น กุหลาบ อัญชัน ก้ามปู ถ้าสุดปลายใบมี 2 ใบ เรียกแบบขนนกคู่ (even pinnate) เช่น มะขาม

การปลูกมะขาม ทำได้โดยเตรียมดินโดยขุดหลุมกว้าง ยาวและลึกด้านละ 60 ซม. ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักคลุกเคล้าดินรองก้นหลุมเอากิ่งพันธุ์ลงปลูก รดน้ำให้ชุ่ม มะขามเมื่อลงดินแล้วจะโตเร็ว ควรใช้ไม้หลักพยุงไว้ให้แน่น และการบำรุงรักษาหลังเริ่มปลูก ควรเอาใจใส่ดายหญ้ารอบต้น และรดน้ำทุกวัน

[แก้]ประโยชน์

  • ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อในฝักแก่ (มะขามเปียก) เปลือกต้น (ทั้งสดหรือแห้ง) เนื้อในเมล็ด
  • สรรพคุณและวิธีใช้
    1. แก้อาการท้องผูก ใช้เนื้อฝักแก่หรือมะขามเปียก 10–20 ฝัก (หนักประมาณ 70–150 กรัม) จิ้มกับเกลือรับประทาน หรือใส่เกลือเติมน้ำคั้นดื่ม
    2. แก้อาการท้องเดิน ใช้เปลือกต้น ทั้งสดหรือแห้งประมาณ 1–2 กำมือ (15–30 กรัม) ต้มกับน้ำปูนใสหรือน้ำรับประทาน
    3. ถ่ายพยาธิลำไส้ ใช้เมล็ดคั่วกะเทาะเปลือกเอาออกเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ 20–30 เมล็ด เหมาะสำหรับถ่ายพยาธิไส้เดือน
    4. แก้ไอขับเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทาน
  • การขยายพันธุ์ : นิยมขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง ติดตาหรือต่อกิ่ง เพราะได้ผลเร็วและไม่ทำให้กลายพันธุ์
  • สภาพดินฟ้าอากาศ : ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดแม้แต่ดินเลว เช่นดินลูกรัง เจริญได้ดีในดินร่วนปนดินเหนียว ทนแล้งได้ดี ฤดูปลูกที่เหมาะสม คือต้นฤดูฝน

ควรหาเศษหญ้าฟางคลุมโคนจนกว่าต้นจะแข็งแรง ควรฉีดยาป้องกันโรคราแป้งและแมลงพวกหนอนเจาะฝัก ด้วงเจาะเมล็ด ในระยะที่เป็นดอกอยู่

  • คุณค่าทางโภชนาการ : ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัด เรียกว่า “มะขามเปียก” ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น กรดทาร์ททาร์ริค กรดซิตริค เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์ ระบายและลดความร้อนของร่างกายลงได้ แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย
  • มะขามเปียกอุดมด้วยกรดอินทรีย์ อาทิ กรดซิตริค (Citric Acid) กรดทาร์ทาริค(Tartaric Acid) หรือกรดมาลิค(Malic Acid) เป็นต้น มีคุณสมบัติชำระล้างความสกปรกรูขุมขน คราบไขมันบนผิวหนังได้ดีมาก

[แก้]คติความเชื่อ

ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ถือว่ามะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) ของบ้าน เพื่อป้องกันสิ่งไม่ดี ผีร้ายมิให้มากล้ำกลาย อีกทั้งต้นมะขามยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ถือกันเป็นเคล็ดว่าจะทำให้มีแต่คนเกรงขาม

[แก้]ชื่อเรียกในภาษาอื่น ๆ

ภาษา ชื่อเรียก
ทมิฬ ปูลี,ปูลิ
ฝรั่งเศส ตามารีนีเยร์ (Tamarinier)
มลายู อาซาม
เยอรมัน ทามาราย
ลาว มอลขาม
สเปน ทามารินโด
สิงหล สยามบาลา
อังกฤษแถบฟลอริดา มะนิลา สวีท
อิตาลี ทามารินโด
อินเดีย อะมะลา, อะมะลิกา
อินโดนีเซีย อาซาม
จีน ซวนโต้ว

ประโยชน์ของต้นมะขาม

ประโยชน์ของต้นมะขาม วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553 ประโยชน์ของต้นมะขาม – ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อในฝักแก่ (มะขามเปียก) เปลือกต้น (ทั้งสดหรือแห้ง) เนื้อในเมล็ด – สรรพคุณและวิธีใช้ แก้อาการท้องผูก ใช้เนื้อฝักแก่หรือมะขามเปียก 10–20 ฝัก (หนักประมาณ 70–150 กรัม) จิ้มกับเกลือรับประทาน หรือใส่เกลือเติมน้ำคั้นดื่ม แก้อาการท้องเดิน ใช้เปลือกต้น ทั้งสดหรือแห้งประมาณ 1–2 กำมือ (15–30 กรัม) ต้มกับน้ำปูนใสหรือน้ำรับประทาน ถ่ายพยาธิลำไส้ ใช้เมล็ดคั่วกะเทาะเปลือกเอาออกเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ 20–30 เมล็ด เหมาะสำหรับถ่ายพยาธิไส้เดือน แก้ไอขับเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทาน – การขยายพันธุ์ : นิยมขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง ติดตาหรือต่อกิ่ง เพราะได้ผลเร็วและไม่ทำให้กลายพันธุ์ – สภาพดินฟ้าอากาศ : ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดแม้แต่ดินเลว เช่นดินลูกรัง เจริญได้ดีในดินร่วนปนดินเหนียว ทนแล้งได้ดี ฤดูปลูกที่เหมาะสม คือต้นฤดูฝน ควรหาเศษหญ้าฟางคลุมโคนจนกว่าต้นจะแข็งแรง ควรฉีดยาป้องกันโรคราแป้งและแมลงพวกหนอนเจาะฝัก ด้วงเจาะเมล็ด ในระยะที่เป็นดอกอยู่ – คุณค่าทางโภชนาการ : ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัด เรียกว่า “มะขามเปียก” ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น กรดทาร์ททาร์ริค กรดซิตริค เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์ ระบายและลดความร้อนของร่างกายลงได้ แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย – มะขามเปียกอุดมด้วยกรดอินทรีย์ อาทิ กรดซิตริค (Citric Acid) กรดทาร์ทาริค(Tartaric Acid) หรือกรดมาลิค(Malic Acid) เป็นต้น มีคุณสมบัติชำระล้างความสกปรกรูขุมขน คราบไขมันบนผิวหนังได้ดีมาก คติความเชื่อ ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ถือว่ามะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) ของบ้าน เพื่อป้องกันสิ่งไม่ดี ผีร้ายมิให้มากล้ำกลาย อีกทั้งต้นมะขามยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ถือกันเป็นเคล็ดว่าจะทำให้มีแต่คนเกรงขาม เขียนโดย ศรราม ที่ 22:58

ประโยชน์ของต้นมะขาม

 

 

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

ประโยชน์ของต้นมะขาม

– ส่วนที่ใช้เป็นยา : เนื้อในฝักแก่ (มะขามเปียก) เปลือกต้น (ทั้งสดหรือแห้ง) เนื้อในเมล็ด 


– สรรพคุณและวิธีใช้ 


แก้อาการท้องผูก ใช้เนื้อฝักแก่หรือมะขามเปียก 10–20 ฝัก (หนักประมาณ 70–150 กรัม) จิ้มกับเกลือรับประทาน หรือใส่เกลือเติมน้ำคั้นดื่ม 


แก้อาการท้องเดิน ใช้เปลือกต้น ทั้งสดหรือแห้งประมาณ 1–2 กำมือ (15–30 กรัม) ต้มกับน้ำปูนใสหรือน้ำรับประทาน 


ถ่ายพยาธิลำไส้ ใช้เมล็ดคั่วกะเทาะเปลือกเอาออกเนื้อในเมล็ดแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ 20–30 เมล็ด เหมาะสำหรับถ่ายพยาธิไส้เดือน 


แก้ไอขับเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทาน 


– การขยายพันธุ์ : นิยมขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง ติดตาหรือต่อกิ่ง เพราะได้ผลเร็วและไม่ทำให้กลายพันธุ์ 


– สภาพดินฟ้าอากาศ : ขึ้นได้ในดินแทบทุกชนิดแม้แต่ดินเลว เช่นดินลูกรัง เจริญได้ดีในดินร่วนปนดินเหนียว ทนแล้งได้ดี ฤดูปลูกที่เหมาะสม คือต้นฤดูฝน 


ควรหาเศษหญ้าฟางคลุมโคนจนกว่าต้นจะแข็งแรง ควรฉีดยาป้องกันโรคราแป้งและแมลงพวกหนอนเจาะฝัก ด้วงเจาะเมล็ด ในระยะที่เป็นดอกอยู่


– คุณค่าทางโภชนาการ : ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัด เรียกว่า “มะขามเปียก” ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น กรดทาร์ททาร์ริค กรดซิตริค เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์ ระบายและลดความร้อนของร่างกายลงได้ แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย 


– มะขามเปียกอุดมด้วยกรดอินทรีย์ อาทิ กรดซิตริค (Citric Acid) กรดทาร์ทาริค(Tartaric Acid) หรือกรดมาลิค(Malic Acid) เป็นต้น มีคุณสมบัติชำระล้างความสกปรกรูขุมขน คราบไขมันบนผิวหนังได้ดีมาก

คติความเชื่อ
ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ถือว่ามะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) ของบ้าน เพื่อป้องกันสิ่งไม่ดี ผีร้ายมิให้มากล้ำกลาย อีกทั้งต้นมะขามยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ถือกันเป็นเคล็ดว่าจะทำให้มีแต่คนเกรงขาม

เขียนโดย ที่ 22:58

ต้นมะขาม

ต้นมะขาม

ชื่อท้องถิ่น: ต้นมะขาม
ชื่อสามัญ: Tamarind, Indian date
ชื่อวิทยาศาสตร์: Tamarindus indica Linn
ชื่อวงศ์: LEGUMINOSAE
ลักษณะวิสัย/ประเภท: ไม้ยืนต้น
ลักษณะพืช: มีกิ่งก้านเยอะ ลำต้นมีสีน้ำตาลแก่ ใบเล็กเรียงตัวแบบสลับ
ปริมาณที่พบ: มาก
การขยายพันธุ์: ใช้กิ่ง/ลำต้น
อธิบายวิธีการเพาะ/ขยายพันธุ์: ใช้เมล็ดขยายพันธุ์ และการตอนกิ่ง
การใช้ประโยชน์/ส่วนที่นำไปใช้ประโยชน์: สรรพคุณทางยา : ยาระบาย แก้อาการท้องผูก ใช้มะขามเปียกรสเปรี้ยว 10–20 ฝัก (หนัก 70–150 กรัม) จิ้มเกลือรับประทาน แล้วดื่มน้ำตามมากๆ หรือต้มน้ำใส่เกลือเล็กน้อยดื่มเป็นน้ำมะขาม ขับพยาธิไส้เดือน นำเอาเมล็ดแก่มาคั่ว แล้วกะเทาะเปลือกออก เอาเนื้อในเมล็ดไปแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ 20-30 เม็ด ขับเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทานพอสมควร

คุณค่าทางโภชนาการ ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัด เรียกว่า “มะขามเปียก” ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น กรดทาร์ททาร์ริค กรดซิตริค เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์ ระบายและลดความร้อนของร่างกายลงได้ แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย
คติความเชื่อ : ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ถือว่ามะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) ของบ้าน เพื่อ
ป้องกันสิ่งไม่ดี ผีร้ายมิให้มากล้ำกลาย อีกทั้งต้นมะขามยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ถือกันเป็นเคล็ดว่าจะทำให้มีแต่คนเกรงขาม

แหล่งที่พบ: โรงเรียนสามผงวิทยาคม และตามชุมชน สวนผลไม้ต่างๆ
ข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม:
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ได้: ทุกฤดู
แหล่งที่มาของข้อมูล: โรงเรียนสามผงวิทยาคม
คำช่วยค้นหา(keyword):
ผู้บันทึกข้อมูล: อาณิดา ติยะบุตร
วันที่บันทึกข้อมูล: 6/21/2010 3:38:04 PM
วันที่แก้ไขล่าสุด: 8/9/2011 7:25:44 PM
จำนวน view: 3825 ครั้ง
สถานะการตรวจสอบ: ยังไม่ผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง

มะขามดอง

มะขามดอง

มะขามดอง

ขั้นตอนการทำมะขามดอง
ส่วนผสม

1.               มะขามแก่จัดฝักใหญ่ 1 กิโลกรัม

2.               เกลือป่น 3/4 ถ้วยตวง

3.               น้ำ 5 ถ้วยตวง

4.               น้ำปูนใส 1/2 ถ้วยตวง

อุปกรณ์ในการทำมะขามดอง

1.               ขวดโหลแก้วหรือภาชนะเคลือบหรือภาชนะดินเผาหรือภาชนะที่เป็นกระเบื้องเคลือบ

2.               ภาชนะสำหรับต้มน้ำเกลือ

3.               ตะกร้า

4.               กะละมัง
วิธีทำ

1.               ล้างมะขามให้สะอาด

2.               ต้มน้ำให้เดือด

3.               ลวกมะขามในน้ำเดือดประมาณ  1  นาที

4.               นำมะขามที่ลวกแล้วแช่ในน้ำเย็น

5.               แกะเปลือกมะขามออกแล้วแช่ในน้ำปูนใส  15  นาที

6.               นำขึ้นจากน้ำปูนใสล้างด้วยน้ำธรรมดาให้สะอาด

7.               ผึ่งไว้ในตะกร้าให้น้ำแห้ง

8.               นำเรียงลงในขวดแก้วหรือภาชนะเคลือบหรือภาชนะดินเผาหรือภาชนะ
ที่เป็นกระเบื้องเคลือบ

9.               ต้มน้ำเกลือให้เดือดทิ้งไว้ให้เย็น

10.         เทน้ำเกลือใส่ให้ท่วมมะขาม

11.         ใช้ถุงพลาสติกใส่น้ำวางทับหรือใช้ไม้ไผ่ขัดไว้เพื่อกดให้มะขามจม ดองไว้ 2 – 3 วัน  รับประทานได้

12.         รับประทานกับพริกกับเกลือ  หรือทำเป็นแช่อิ่มหรือแช่น้ำผึ้ง

Previous Older Entries